Slide background
Slide background
Slide background
Slide background

ประสบการณ์ จากการบอกเล่า การช่วยเหลือกรณี ฮ.ลงฉุกเฉิน จังหวัด ปัตตานี วันที่ 25 ส.ค. 2559

โพสต์เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2559 เวลา 22:57:22 | ผลงานและเกียรติภูมิ รพ.ตำรวจ

  • 4114 ครั้ง

แผนที่จะนำผู้ป่วยโดยการดึงขึ้นเครื่องเฮลิคอปเตอร์ในช่วงเช้าก็ทำไม่ได้ เนื่องจากสภาพป่าไม่เอื้ออำนวย (ฮ.บินเข้ามาทดสอบการเข้าช่องลอยตัวหลายครั้ง) จึงต้องเคลื่อนผู้ป่วยลงทางป่าลาดชัน ทำให้เห็นการแก้ปัญหา ความทุ่มเทให้พวกพ้อง (บางคนไม่รู้จักเป็นส่วนตัว) บอกได้ว่ายากจริงๆ ย้อนคิดแล้วยังสงสัยว่าทำกันยังไง ทุกคนเหนื่อยล้ามากกันทั้งคืน แล้วยังอีกครึ่งวันกว่าๆโดยไม่หยุดหย่อนกัน จนสามารถนำผู้บาดเจ็บทั้ง ๘ นายออกมาทำการรักษาต่อไปได้...

ทีมแพทย์ ๓ นายจาก รพ.ศชต. ๑ นายจากงานการแพทย์ และ ๒ นายจาก ตชด. (เดินทางมาสมทบที่บ้านจุฬาภรณ์) โดยออกจาก ศชต. (สี่ทุ่ม) ถึงบ้านจุฬาภรณ์ ๗ ประมาณเทียงคืนกว่าๆ แต่ต้องเปลี่ยนแผนไปลงเรือที่บ้านจุฬาภรณ์ ๙ โดยเดินลงไปที่ตลิ่งโคลน ขึ้นฝั่งเดินลุยป่า โคลนดูด ดินผลุบ ร่องดินยุบ ไปประมาณ ๕๐๐ เมตร ถึงฐาน ตชด.ฮาลาบาลา ตีหนึ่งกว่าๆ พัก เตรียมการ สัมภาระ สำรวจกำลังพล ทั้งสิ้น ๓๔ นาย จากแทบทุกหน่วยที่สามารถมาได้ นำโดยรอง ผบช.ศชต. พล.ต.ต.คัชชา ธาตุศาสตร์ แพทย์พยาบาล ตชด. ชป.แดนไทย ลาซู นักบิน ตร. และอื่นๆ แล้วออกเดินทางไปยังจุดตก ห่างไป ๔ กิโลกว่า คาดว่าจะใช้เวลาเดินทาง ๒ ชั่วโมงเศษ เดินลุยป่าฮาลาบาลาที่หนักกว่า ๕๐๐ เมตรก่อนนี้มากนัก แต่ทุกคนก็รีบเดินทางกันทั้งคืน จนกระทั่ง ก่อนถึงจุดตกประมาณ ๑ กิโลก็ได้รับแจ้งทางวิทยุว่า มี ผู้บาดเจ็บ ๑ นายเริ่มมีอาการหายใจไม่ดี แย่ลงมาก ทำท่าจะหยุดหายใจ และการช่วยเหลือทำได้ลำบากเนื่องจากพื้นที่จำกัด จึงขอให้ส่วนหน้า และแพทย์รีบเดินทางเร็วทีสุด จึงตัดสัมภาระที่แพทย์แบกมาออกไปให้ ตร.ช่วยแบกแทน เพื่อให้แพทย์เดินได้เร็วขึ้น จึงต้องกึ่งเดินกึ่งวิ่งไปจนกลุ่มหลังตามไม่ทัน (เนื่องจากมืดมาก จึงให้กลุ่มตามเดินเลยจุดตก และต้องเดินย้อนกลับมาภายหลัง) ต้องเดินในร่องน้ำ ผ่านป่าหวาย (ที่ตัดเปิดทางไว้บางส่วนจาก ตชด.ที่เข้ามาก่อนหน้าแล้ว เมื่อไปถึงเชิงเขาพอเข้าใกล้จุดตกภูมิประเทศก้อเริ่มเปลี่ยนเป็นเขาสูงชัน มาก ไม่ต่ำกว่า ๔๐ –๕๐ องศา บางจุดน่าจะถึง ๖๐-๗๐ องศา ใช้เวลาปีนไม่ต่ำกว่า ๒๐ –๓๐ นาที (ทำเอาหอบเมื่อขึ้นไปถึง เวลา ประมาณ ตีสี่กว่าๆ)

ถึงตรงนี้ต้องบอกว่า ตชด.ที่ขึ้นมาก่อน ให้การดูแล ปฐมพยาบาลได้ดีมาก ต้องชมเชยครับ ผู้ป่วยที่ว่าก็อาการไม่ดีนั้นอยู่ในสภาพช็อก หน้าซีด ไม่มีสีเลือด เหงื่อออกทั้งที่อากาศชื้นเย็นมาก รวมทั้งมีลมรั่วในปอดซ้าย จึงทำการแก้ไขให้น้ำเกลือ ร่วมกับพยาบาล ๑ นายที่ตามกันมาทัน จนอาการกระเตื้องขึ้น แล้วจึงให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บท่านอื่นตามลำดับ ร่วมทั้งเตรียมการเพื่อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทั้งหมดไปที่ที่สามารถนำออกจากป่าได้ ทุกคนทำงานกันทั้งคืน หัวหน้าชุด ๒-๓ หน่วย เก่ง ตัดสินใจดี มีประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญ และทุ่มเทมาก แผนที่จะนำผู้ป่วยโดยการดึงขึ้นเครื่องเฮลิคอปเตอร์ในช่วงเช้าก็ทำไม่ได้ เนื่องจากสภาพป่าไม่เอื้ออำนวย (ฮ.บินเข้ามาทดสอบการเข้าช่องลอยตัวหลายครั้ง) จึงต้องเคลื่อนผู้ป่วยลงทางป่าลาดชัน ทำให้เห็นการแก้ปัญหา ความทุ่มเทให้พวกพ้อง (บางคนไม่รู้จักเป็นส่วนตัว) บอกได้ว่ายากจริงๆ ย้อนคิดแล้วยังสงสัยว่าทำกันยังไง ทุกคนเหนื่อยล้ามากกันทั้งคืน แล้วยังอีกครึ่งวันกว่าๆโดยไม่หยุดหย่อนกัน จนสามารถนำผู้บาดเจ็บทั้ง ๘ นายออกมาทำการรักษาต่อไปได้

ขอสดุดีตำรวจทุกนายที่เข้าทำการกู้ภัยในครั้งนี้ และผู้บังคับบัญชาทุกนายที่ให้การสนับสนุนทรัพยากรในการกู้ภัยครั้งนี้อย่าง สุดๆ ขอบคุณกองทัพอากาศ และเหล่าทัพที่ช่วยสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ในครั้งนี้ และเจ้าหน้าที่ทุกๆท่านมาร่วมกันทำภารกิจจนเสร็จสิ้น ถึงแม้จะไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บที่รุนแรงจนทำให้เกิดความบกพร่อง ทางกายในภายหน้า แต่ก็ช่วยให้ไม่เกิดความสูญเสียเพิ่มขึ้นครับ
ขอบคุณครับ..

รายชื่อทีมแพทย์ที่เข้าร่วมปฏิบัติการกู้ภัยการลงจอดฉุกเฉินของเฮลิคอปเตอร์ของ สตช.
๑. พ.ต.อ. พงศ์ธร สุโฆสิต นายแพทย์ (สบ๕) กลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ตร., หน.ชต.รพ.ตร.
๒. พ.ต.ท.หญิง นวรัตน์ ศรีรัญเพชร พยาบาล (สบ๓) กลุ่มงานพยาบาล รพ.ตร., ปฏิบัติราชการ ชต.รพ.ตร.
๓. พ.ต.ท.หญิง จีระสันต์  ตุพิมาย  พยาบาล (สบ๓) กลุ่มงานศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล รพ.ตร. ช่วยราชการ ศปก.ตร.สน. ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานการแพทย์  
๔.  ร.ต.อ.หญิง สุนิสา ชาลีทา ผบ.มว.กก.ตชด.๔๔
๕. ว่าที่ ร.ต.ต. กิรศักดิ์ พรหมทา พยาบาล (สบ๑) ชต.รพ.ตร.
๖. ด.ต.ประยุทธ  วงศ์สินรายณ์ ผบ.หมู่ กก.ตชด.๔๔

และทีมสนับสนุนจาก ชต.รพ.ตร.

>> คลิป : เปิดใจ พ.ต.อ.นายแพทย์ พงศ์ธร สุโฆษิต และคณะที่เข้าช่วยเหลือ จากรายการครบวันครบข่าว TNN 24

แชร์ข่าวนี้ :
Top